เราจะออกแบบระบบแอร์คอมเพรสเซอร์อย่างไร ทำไมต้องมีการเลือกคอมเพรสเซอร์?

Last updated: 30 พ.ค. 2567  |  90 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เราจะออกแบบระบบแอร์คอมเพรสเซอร์อย่างไร ทำไมต้องมีการเลือกคอมเพรสเซอร์?

เราจะออกแบบระบบแอร์คอมเพรสเซอร์อย่างไร ทำไมต้องมีการเลือกคอมเพรสเซอร์?

 แอร์คอมเพรสเซอร์แบบความเร็วคงที่ (fixed- speed)
 
แอร์คอมเพรสเซอร์แบบความเร็วคงที่นั้นทำงานอย่างต่อเนื่องที่ความเร็วเท่าเดิมและเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเมื่อมีการทำงานเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ของกำลังการผลิต ซึ่งหมายความว่าเมื่อมอเตอร์เริ่มทำงานและผลิตลมอัดแล้วเราจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อคอมเพรสเซอร์แบบความเร็วคงที่นั้นอยู่ในภาวะ unload หรือหยุดผลิตลมอัด ก่อนที่มอเตอร์จะหยุดทำงานโดยสมบูรณ์ มันจะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่มีอากาศอัดอากาศในขณะนั้นเลย เนื่องจากเพื่อป้องกันมอเตอร์จากการสตาร์ทหรือการหยุดมอเตอร์มากเกินไป

แอร์คอมเพรสเซอร์ชนิดปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD)

เทคโนโลยีแบบปรับความเร็วได้ (VSD)นั้นทำงานแตกต่างออกไป เพราะเครื่องเหล่านี้จะปรับความเร็วมอเตอร์ให้เป็นความเร็วที่่เหมาะสมเพื่อให้สัมพันธ์กับปริมาณความต้องการของลมอัดที่โรงงานต้องการ ตัวอย่างเช่น เมื่อระบบการผลิตมีความต้องการลมอัดเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าความต้องการของลมอัดลดลง มอเตอร์จะทำงานช้าลงโดยอัติโนมัติและจะใช้ไฟเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อกำหนดปริมาณการไหลของลมอัดที่เหมาะสม แอร์คอมเพรสเซอร์แบบ VSD นั้นเหมาะกับความต้องการพื้นฐานของการผลิตเพราะมันเทคโนโลยีที่สามารถคำนวนปริมาณการไหลของลมที่ถูกใช้และปรับความเร็วให้เหมาะสม ในวันที่กำลังการผลิตช้าลงและมีการพักตลอดทั้งวัน(หรือในช่วงกะที่สองและสาม) นั้นเทคโนโลยี VSD มีประโยชน์อย่างยิ่งที่ช่วยลดการใช้ไฟที่ไม่จำเป็นและยังช่วยประหยัดเงินอีกด้วย

เราได้รู้จักแอร์คอมเพรสเซอร์ทั้งสองแบบไปแล้ว ต่อไปเรามาดูการทำงานของมันบ้าง การทำงานของแอร์คอมเพรสเซอร์มีทั้งแบบ single-stage และ two-stage ความแตกต่างหลักๆคือจำนวนครั้งที่อากาศถูกอัดระหว่าง inlet valve และหัวฉีด 

ปั๊มลมหรือแอร์คอมเพรสเซอร์แบบ single-stage 
 
คอมเพรสเซอร์ประเภทนี้จะดูดอากาศเข้าไปในกระบอกสูบและจะเกิดการถูกบีบอัดด้วยลูกสูบเพียงหนึ่งครั้ง ดังนั้นอากาศจึงถูกบีบอัดเพียงครั้งเดียวจากนั้นจึงเดินทางไปยังถังลม

ปั๊มลมหรือแอร์คอมเพรสเซอร์แบบ Two-stage

คอมเพรสเซอร์แบบ Two-stage นั้นมีการบีบอากาศสองครั้ง ดังนั้นมันจึงได้รับแรงดันสูงกว่าแบบ single-stage แม้ว่าอากาศอัดที่ถูกบีบอัดแล้วในครั้งแรกจะวนกลับเข้ากระบอกสูบอีกลูกเพื่อทำการบีบอัดในครั้งที่สองก่อนที่จะถูกนำไปเก็บที่ถังลม
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้