Last updated: 30 พ.ค. 2567 | 31 จำนวนผู้เข้าชม |
3 วิธีดูแลปั๊มลมสกรูอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การเข้าทำ PM(Preventive Maintenance) ของ เครื่องปั๊มลม
เนื่องด้วยลมอัด (Compressed air) นั้นอยู่แทบจะทุกที่ในอุตสาหกรรมถ้าปั๊มลม (Air Compressor) ของคุณเกิดการเสียหายขึ้นมานั้นจะส่งผลทำให้ไลน์การผลิตหรือการทำงานของเครื่องจักรของคุณนั้นหยุดไปด้วยการใช้งานของเครื่องปั๊มลมจะต้องมีการดูแลบำรุงรักษาเชิงป้องกันหรือ PM (Preventive Maintenance) ในการดูแลสภาพเครื่องปั๊มลมเพื่อการตรวจสอบซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงอะไหล่ตามที่มีการกำหนดอายุการใช้งานของเครื่องปั๊มลมนั้นๆ
การทำ PM จะทำให้วางแผนระยะยาวและสามารถป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากอายุการใช้งานของเครื่องปั๊มลมได้เพื่อทำให้การผลิตของคุณเป็นไปอย่างต่อเนื่องและลดต้นทุนโดยรวมได้อีกด้วย ในส่วนของการทำ PM ปั๊มลมนั้น จะทำการตรวจสอบการใช้งานและทำความสะอาดอะไหล่ของเครื่องปั๊มลม,เช็คแรงดันไฟฟ้า, เช็คกระแสไฟฟ้า, การตรวจสอบการตั้งความดัน (Pressure) ที่เหมาะสมกับการใช้งาน,ตรวจสอบอายุการใช้งานของอะไหล่ และตรวจสอบชั่วโมงการทำงานของเครื่องปั๊มลมเพื่อทำให้เครื่องปั๊มลมนั้นยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนอะไหล่ตามรอบชั่วโมงการใช้งาน
อะไหล่ของเครื่องจักร (Spare part) นั้นย่อมมีอายุการใช้งานที่จำกัดถ้าคุณใช้ไปนานๆ และไม่ได้เปลี่ยนจะทำให้อะไหล่นั้นเกิดการสึกหรอและชำรุดได้เหมือนปั๊มลมก็เช่นกัน ถ้าคุณใช้ปั๊มลมที่หล่อลื่นด้วยน้ำมัน (Oil flooded) และน้ำมันเครื่องปั๊มลม (Oil Lubricant) ของคุณมีการใช้งานที่ยาวนานนั่นจะทำให้น้ำมันเครื่องปั๊มลมของคุณนั้นเหนียวและระบบภายในปั๊มลมมีความร้อนกว่าปกติทำให้ปั๊มลมตัดการทำงานได้ อายุการใช้งานของปั๊มลมนั้นจะลดลง ส่วนไส้กรองอากาศ (AirFilter) ซึ่งกรองสิ่งสกปรก เศษผง ฝุ่นละอองต่างๆก่อนเข้าไปที่ตัวสกรู เมื่อใช้งานไปนานจะทำให้ไส้กรองนั้นอุดตันและทำให้สิ่งสกปรกเล็ดรอดเข้าไปได้เช่นกันในส่วนของตัวกรองน้ำมัน (Oil Filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกต่างๆของน้ำมันที่ย้อนกลับเข้าไปที่ตัวสกรูของปั๊มลมเมื่อตัวกรองน้ำมันตันจะส่งผลให้ตัวกรองน้ำมันนั้นบล็อคและทำให้อุณหภูมิของปั๊มลมนั้นร้อนมากขึ้นทำให้เกิดการตัดการทำงานของปั๊มลมได้
อะไหล่ของปั๊มลมสกรูที่ได้ยกตัวอย่างมานั้นล้วนเป็นกลไกที่สำคัญในการทำงานของปั๊มลมเมื่อตัวใดตัวหนึ่งถึงการสึกหรอหรือเกิดการชำรุดจะทำให้ปั๊มลมนั้นขาดอะไรบางอย่างไปและอายุการใช้ของปั๊มคุณจะลดน้อยตามลงไปด้วยในที่สุดปั๊มลมของคุณจะใช้งานไม่ได้เลย ซึ่งจะทำให้เสียอัตราการผลิต (Production rate) ไปโดยปริยาย
ดังนั้นตามที่ได้กล่าวไปควรจะเปลี่ยนอะไหล่ตามอายุการใช้งานจริงและเป็นอะไหล่แท้เพื่อที่จะทำให้ปั๊มลมของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและผลิตลมอัดได้อย่างต่อเนื่องในไลน์ผลิตของคุณ
การระบายอากาศในพื้นที่ติดตั้งของเครื่องปั๊มลม
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ในการทำงานนั้นเกิดจากการที่มอเตอร์เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อน ทำให้สกรูตัวผู้และตัวเมียขบเข้าหากันใน gap ที่เล็กมากๆ ซึ่งในปริมาตรที่เล็กทำให้ผลิตความดันได้สูง
(ตามสเปคที่ปั๊มลมนั้นผลิต) เมื่อความดันสูง อุณหภูมิก็จะแปรผันตามทำให้อุณหภูมิภายในใต้สกรูนั้นก็จะสูงเช่นกัน ซึ่งการทำงานของปั๊มลมนั้นเมื่อระบายความร้อนได้ไม่พอดีพออยู่ในสภาพแวดล้อมอากาศที่ไม่ถ่ายเทและลมร้อนที่ระบายออกจาก cooler ของปั๊มลมนั้นตีกลับเข้ามาตัวปั๊มลม จะทำให้ปั๊มลมนั้นเกิดการ overheatและส่งผลต่อการทำงานของปั๊มลมทำให้ปั๊มลมตัดการทำงาน
ดังนั้นการติดตั้งปั๊มลมควรจะอยู่ในบริเวณที่สามารถระบายอากาศได้ดีหรือในห้องปั๊มลม (Compressorroom) ที่มีระบบระบายอากาศ (Exhaust Air Duct) ไม่ว่าจะเป็นในระบบปิดหรือระบบเปิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบการติดตั้งของปั๊มลมคุณภาพสูงนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด