ความแตกต่างระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู

Last updated: 30 พ.ค. 2567  |  43 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความแตกต่างระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู

ความแตกต่างระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู

เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ชุดอัดอากาศประกอบด้วยลูกสูบและแหวนลูกสูบ เคลื่อนที่ขึ้นลงโดยเพลาข้อเหวี่ยงเพื่ออัดอากาศ ข้อเสียคือ แหวนลูกสูบต้องเสียดสีกับเสื้อสูบตลอดเวลา ดังนั้นการเสียดสีนี้จึงส่งผลเสียทำให้เครื่องอัดลมมีอุณหภูมิสูง เสียงดัง การสึกหรอสูง ไม่สามารถเดินเครื่องใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือใช้งานหนัก ๆ ได้ ส่วนเครื่องอัดลมเเบบสกรูหรือปั๊มลมสกรู ก็ประกอบด้วยสกรูตัวผู้กับตัวเมียหมุนเข้าหากัน เพื่อรีดลมให้ได้ลมอัดแต่ไม่มีอะไรเสียดสีกันเลย ข้อดีคือ เสียงเงียบ สามารถเดินเครื่องใช้งานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

และเครื่องอัดลมแบบสกรูนี้สามารถทำลมได้มากกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ 15 – 20 % ได้ลมเยอะกว่า ช่วยเรื่องพลังงานได้ด้วย โดยเปรียบเทียบตัวอย่างคือ ขนาดมอเตอร์ที่เท่ากัน (แรงม้า) ของเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู เช่น มอเตอร์ขนาด 50 แรงม้าเหมือนกัน เครื่องอัดลมแบบสกรูจะทำลมได้มากกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ 15 – 20 % และการใช้งานระบบการ Start เปิด-ปิด ของเครื่องอัดลมแบบลูกสูบจะเป็นแบบ Direct Online คือ มีแม็คเนติกตัวเดียว เมื่อสตาร์ทคือสตาร์ทเลย ทำให้มอเตอร์กระชากกระแสจะกินกระแสสูงในตอนสตาร์ท แต่ถ้าเป็นเครื่องอัดลมแบบสกรู การ Start จะเป็นแบบ Start-Delta ซึ่งจะมีแม็คเนติก 3 ตัวช่วยเรื่องการกระชากของกระแสได้ตรงนี้ ทำให้เห็นได้ว่าแค่ช่วง Start อย่างเดียว เครื่องอัดลมแบบสกรูก็ประหยัดไฟได้มากกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ


แล้วส่วนการประหยัดพลังงานในส่วนอื่น ๆ สำหรับเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ การทำงานคือสมมุติเราสตาร์ทเครื่องปั้ง เครื่องอัดลมจะทำแรงดันตั้งแต่ 0 – 8 บาร์ มันก็จะปั้งๆๆๆๆๆ  ไปถึง 8 บาร์ และมอเตอร์ก็จะหยุดทำงาน พอเราตั้งแรงดันไว้ที่ 5 บาร์ พอตกมาถึง 5 บาร์ปุ๊ป มอเตอร์ก็จะสตาร์ทใหม่ การทำงานจะเป็นแบบนี้คือมอเตอร์จะ Start– Stop ทั้งวันเลย ทำให้กินไฟจังหวะกระชากตอนสตาร์ทกินไฟทั้งวันตลอดเวลาการใช้งาน 

ส่วนการทำงานของเครื่องอัดลมแบบสกรูหรือปั๊มลมสกรู เวลา Start ปุ๊ปก็จะทำลมไปถึง 8 บาร์ ก็จะเข้าสู่ภาวะ Unload คือวาล์วปิด พอวาล์วปิดปุ๊ปเครื่องไม่ทำลม แรงดัน (Pressure) ก็จะตกลงเรื่อย ๆ เมื่อมีการใช้งาน พอถึง 6 บาร์ที่เราตั้งไว้ก็จะเข้าสู่สภาวะโหลดอีกครั้ง วาล์วก็จะเปิด หลักการทำงานก็จะวนไปแบบนี้ คือ Load – Unload มอเตอร์จะไม่หยุดไม่เหมือนกับการงานของเครื่องอัดลมแบบลูกสูบลูกสูบคือมอเตอร์หยุด หยุดปุ๊ปพอลมตกต้องสตาร์ทอันนั้คือ Start - Stop แต่ถ้าเป็นแบบสกรูจะเป็น Load – Unload แต่กรณีที่ไม่ได้ใช้ลมเยอะอยู่ในสภาวะUnload นาน Unload นานเกิน 10 นาทีเครื่องก็จะตัดดับเป็น Autostop แต่พอแรงดัน (Pressure) ตกลงมาถึง 6 บาร์ เครื่องก็จะ Autostart ขึ้นไปใหม่ 

คุณภาพลมที่ได้เปรียบเทียบกันระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรูต่างกันมาก นั่นคือแบบลุกสูบนั้นเมื่อผลิตลมได้ก็ส่งออกไปเลย ไม่มีระบบฟิลเตอร์กรอง ไม่มีคูลเลอร์ ลมที่ออกไปจึงมีสิ่งเจือปนตามไปด้วยรวมถึงความร้อน แต่เครื่องอัดลมแบบสกรูจะมีฟิลเตอร์ถึง 3 ตัว คือ

Air Filter เป็นตัวกรองฝุ่นละอองสิ่งสกปรกขั้นตอนแรกขณะดูดลมก่อนเข้าเครื่อง

Oil Seprator เป็นตัวแยกน้ำมันออกจากลม

Oil Filter เป็นตัวกรองน้ำมัน ไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปในชุดสกรู


ซึ่งฟิลเตอร์ทั้ง 3 ตัวนี้ จะช่วยในการดักฝุ่นละอองและดักน้ำมันให้ไปกับลมน้อยที่สุด เครื่องอัดลมแบบสกรูจึงมีน้ำมันปนไปกับลมน้อยกว่า และที่ดีกว่าคือมีคูลเลอร์ (Cooler) ระบายความร้อนอยู่ในตัวเครื่องอุณหภูมิที่ได้จากเครื่องอัดลมแบบสกรู อุณหภูมิจะอยู่ที่ 40 – 50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะเย็นกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 70 องศาเซลเซียสจะร้อนกว่ามาก แน่นอนเมื่อมีความร้อน ความชื้นก็ตามมา ก็จะเกิดน้ำปนไปกับลมได้มากกว่า สรุปได้คือเครื่องอัดลมแบบสกรูน้ำที่ปนไปกับลมจะน้อยกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและลมที่ได้สะอาดกว่า

ดังนั้น ด้วยข้อดีทั้งหมดนี้ของเครื่องอัดลมแบบสกรูหรือปั๊มลมสกรู โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องอัดลมแบบลูกสูบเครื่องเก่าหรือที่กำลังจะซื้อเครื่องอัดลมเครื่องใหม่ จึงควรเปลี่ยนมาใช้เครื่องอัดลมแบบสกรูที่ให้ปริมาณลมมากกว่า ประหยัดไฟมากกว่า คุณภาพลมที่สะอาดกว่า อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และดูแลรักษาได้ง่ายกว่า




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้