Last updated: 30 พ.ค. 2567 | 224 จำนวนผู้เข้าชม |
Data analytics มีความสำคัญอย่างไรในโลกยุคปัจจุบัน
ในสถานการณ์โลกยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยปัญหา World pandemic Covid, War economic , Inflation หรือแม้กระทั่งการเพิ่มของค่าไฟ ทำให้การลงทุน เพื่อลด Fixed cost ลงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้ Data Analytics จึงมีส่วนช่วยในการ reinvestment ที่ตรงจุด Data Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน รวมไปถึงการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคต เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญของธุรกิจ เพราะสามารถใช้สร้างศักยภาพให้กับธุรกิจได้ โดยทางเดลต้าคอมเพรสเซอร์ได้เล็งเห็นความสำคัญการเก็บข้อมูลจากปั๊มลมสกรู เช่น Flow rate, Pressure, I และ Power เพื่อใช้ในการ analytic, prediction, planning ในโรงงานของลูกค้าเพื่อช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีผลกำไรสูงสุดเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ของ Delta compressor.
ประเภทของ Data Analytics
Descriptive analytics คือ การพรรณาข้อมูลจากอดีต เพื่อให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในอดีตในรูปแบบที่ง่ายที่สุด และคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น รายงานการขาย และรายงานผลการดำเนินการ เป็นต้น
Diagnostic analytics คือ การวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมเหตุการณ์ต่างๆจึงเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ และความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ของยอดขาย และแคมเปญต่างๆ
Predictive analytics คือ การทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วนำมาสร้างแบบจำลองทางสถิติ หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น พยากรณ์ยอดขาย การพยากรณ์ผลประชามติ เป็นต้น
Prescriptive analytics คือ การสรุปข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปรับปรุง สร้างการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือหลีกเลี่ยงปัญหาเดิมที่อาจะเกิดซ้ำๆ และเป็นการวางแผนการทำงานในอนาคตไว้ โดยมีการคาดการณ์ผลลัพธ์ไว้ล่วงหน้า
กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลมีองค์ประกอบต่างๆที่สามารถช่วยในการริเริ่มสิ่งต่างๆภายในองค์กรได้ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยการคิดวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive analytics) ที่มาจากข้อมูลในอดีต เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสิ่งที่จะเกิดขึ้น และมักจะเป็นการวัดตัวชี้วัดแบบดั้งเดิม เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) , Working rate ในแต่ล่ะวัน , ช่วงเวลาที่ Productive ที่สุด , การลดต้นทุนให้ต่ำลง , ลดกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน , ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของระบบลมแม้กระทั่งการวางแผน เพื่อลดช่วงเวลาการเปิดปั๊มลมสกรู โดยประโยชน์ต่างๆที่กล่าวมาในข้างต้นทำให้ทางระบบ IOT ในปั๊มลมในยุคอุตสาหกรรม 4.0 มีความสำคัญเป็นอย่างมากหน้าที่ของ IOT คือการเชื่อมโยงเครื่องจักร คน และระบบวิเคราะห์ ข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีและถูกต้อง นำไปสู่การสามารถติดตาม เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนและแสดงผลข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ ทำให้กระบวนการผลิตตลอดทั้ง Supply chain เชื่อมต่อกันบนโลกดิจิทัลได้ อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยกระดับสู่โรงงานอัจฉริยะ เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยทางเดลต้าได้พัฒนาทางระบบ IOT ในปั๊มลมสกรูขึ้นมาเพื่อรองรับ Software DSV เก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่ม Running โดยจะเก็บข้อมูลงไว้ใน AWS cloud และ มีระบบ AI ในการแจ้งเตือน Users ผ่านทาง Line application เมื่อเกิดการ break-down ขึ้น