รู้จักกับ ปั๊มลม พร้อมประโยชน์จากเครื่องปั๊มลมที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

Last updated: 30 พ.ค. 2567  |  27 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้จักกับ ปั๊มลม พร้อมประโยชน์จากเครื่องปั๊มลมที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

      หากพูดถึงการปั๊มลมหลายคนอาจคิดถึงเครื่องปั๊มลมขนาดเล็กหรือเครื่องปั๊มลมทั่วไปที่เราใช้ในการสูบลมยางรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์หรือจักรยาน แต่คุณรู้ไหมครับว่าความจริงแล้วการปั๊มลมนั้นมีเครื่องมือหลากหลายทั้งแบบ การทำงาน และขนาด และยังมีประโยชน์อีกมากมายนอกเหนือจากการปั๊มลมยางรถเท่านั้น

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ “ปั๊มลม” พร้อมประโยชน์ของการใช้งานที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนรู้จักกับเครื่องปั๊มลม

    เครื่องปั๊มลม (Air Compressor) หรือ ปั๊มลม เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่สร้างแรงอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่เราต้องการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หลายๆ ด้าน ทั้งในชีวิตประจำวัน ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในธุรกิจการทำงานประเภทอื่น เครื่องปั๊มลมอยู่ในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อู่ซ่อมรถ ร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ คลินิก ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่การใช้งานในบ้าน ซึ่งขนาดของอุตสาหกรรมและลักษณะการใช้งานที่ต่างกันออกไปก็ต้องเลือกใช้เครื่องปั๊มลมให้เหมาะสมด้วย

ประเภทของเครื่องปั๊มลม หรือ ปั๊มลม

ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor

         เป็นปั๊มลมที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีหลายแบบ หลายขนาด สามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์

ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)

เป็นเครื่องปั๊มลมที่ใช้หลักการของปั๊มลมแบบลูกสูบ โดยจะใช้ไดอะเฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน ลมที่ถูกดูดในปั๊มลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี

ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)

ปั๊มลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลาสกรูสองเพลาที่หมุนขบกันเรียกว่าเพลาตัวผู้และเพลาตัวเมีย สามารถดูดลมจากด้านหนึ่งและอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ สามารถทำให้ค่าความดันลมสูงถึง 10 บาร์

 ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)

ปั๊มลมชนิดนี้มีการหมุนที่เรียบสม่ำเสมอ เสียงไม่ดัง การผลิตลมเป็นไปอย่างคงที่ ความสามารถในการผลิตลมมีอัตราความดันที่ทำได้ 4 ถึง 10 บาร์

ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

หลักการทำงานก็คือเมื่อใบพัดทั้งสองหมุน อากาศจะถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกอัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวในกรณีที่อากาศถูกส่งเข้าไปในถังเก็บลม ดังนั้นเครื่องปั๊มลมชนิดนี้จึงต้องมีการระบายความร้อนด้วย

 ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)

เป็นเครื่องปั๊มลมที่ใช้หลักการของใบพัดกังหันความเร็วสูง ทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง อัตราการจ่ายลมสูงตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์เท่านั้น

ประโยชน์ของการใช้เครื่องปั๊มลม หรือ ปั๊มลม

• ใช้ปั๊มลมในโรงพยาบาลหรือคลินิก เช่น การใช้ในการผ่าตัดหรือทันตกรรม
• ใช้ในอุตสาหกรรมครีมหรือเครื่องสำอาง เช่น การอัดเนื้อผลิตภัณฑ์เข้าไปในหลอดหรือขวดบรรจุ
• ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การอัดลมในแพ็คเกจเพื่อให้ได้รูปผลิตภัณฑ์สวยงาม
• ใช้สำหรับการซ่อมหรือบำรุงรักษายานยนต์ เช่น การสูบลมยางรถประเภทต่างๆ
• ใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ โรงงานผลิตกระจก โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้ระบบนิวเมทริกซ์ เป็นต้น
ในการใช้งานเครื่องปั๊มลมแต่ละประเภท เราต้องเลือกเครื่องปั๊มลมที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ขนาดของโรงงานหรือธุรกิจของเรามากที่สุด หรือแม้แต่การใช้งานในบ้านหรือในชีวิตประจำวัน ก็ควรเลือกเครื่องปั๊มลมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เป็นการสิ้นเปลืองครับ


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้