Last updated: 7 พ.ค. 2567 | 40 จำนวนผู้เข้าชม |
• สภาพของหัวปั๊มลม สภาพหัวปั๊มลมมีรอยยุบหรือรอยแตกหักบริเวณไหนหรือไม่ รอยต่อต่างๆ มีรอยน้ำมันรั่วซึมหรือไม่ สีฝาวาล์วสม่ำเสมอหรือไม่ มีสนิมเกาะกินบริเวณฝาวาล์วส่งเป็นพิเศษหรือไม่ ถ้าหากมีร่องรอยต่างๆ ตามที่เขียนมา ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจจะต้องเจอปัญหาเรื้อรังซ่อมซ้ำซากได้
• ตาแมว สามารถมองเห็นระดับน้ำมันได้หรือไม่ บางกรณี ตาแมวขุ่นมัวหรือมีคราบสกปรกจับ จนไม่สามารถมองเห็นระดับน้ำมันข้างในได้ ซึ่งถ้าหากใช้งานทั้งๆ ที่ไม่มีน้ำมันข้างใน อาจจะทำให้ลูกสูบติดและส่งผลเสียหายต่อหัวปั๊มลมได้ ขณะทดสอบการใช้งานต้องไม่มีน้ำมันซึมออกมาที่บริเวณตาแมวอีกด้วย
• ข้อต่อ และบริเวณเชื่อมต่อต่างๆ แน่นไม่ค่อกแค่ก ข้อต่อบริเวณท่อต่างๆ ควรจะเชื่อมต่อกันอย่างแน่นหนา ไม่ควรมีรอยร้าว รอยรั่ว หรือเชื่อมต่อไม่สนิท เพราะอาจทำให้เกิดลมรั่วขณะใช้งานได้ ข้อต่อในบางจุดหากหักแล้วก็แก้ไขได้ยาก หรือส่วนของหัวต่อที่หักคาอยู่ในข้อต่อเป็นต้น
• ถังลม ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ควรมีรอยบุบหรือร่อยรอยการซ่อมแซม เพราะหากถังลมไม่ได้ถูกรับการเชื่อมต่อที่ได้มาตรฐานหรือมีการดัดแปลง เมื่อต้องใช้งานและรองรับแรงดันสูง ก็อาจจะส่งผลเสียร้ายแรง ต่อทรัพย์สินและชีวิตได้ ควรเลือกถังที่หนา มีน้ำหนักเยอะ หูจับยังเชื่อมต่อกับตัวถังแน่น
นอกจากสภาพภายนอกปั๊มลมที่ดูสมบูรณ์แล้ว ขณะเลือกซื้อปั๊มลมมือสองก็ควรทดลองเดินเครื่องและใช้งานด้วย ซึ่งมีข้อสังเกตระหว่างการทำงานดังนี้
• ไม่มีเสียงลมรั่ว เมื่อปั๊มลมทำงานจนตัดการทำงานแล้ว นอกจากเสียงที่แป๊บรีลีสสั้นๆ แล้ว ไม่ควรมีเสียงลมอื่นๆ อีก เพราะนั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่ามีร่องรอยของการรั่ว โดยเฉพาะข้อต่อต่างๆ ควรสังเกตเป็นพิเศษถ้าหากเจออาการนี้ควรเลือกปั๊มลมตัวอื่นแทน
• ระหว่างทำงาน สายพานต้องไม่แกว่งจนเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการตั้งสายพานไม่เรียบร้อย ไม่สมดุล หรืออาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ซึ่ง ถ้าหากมีอาการนี้ ก็ควรเลี่ยงดีกว่า
• เอามืออังที่หม้อกรอง ปั๊มลมที่ลูกสูบและสภาพของหัวปั๊มลมยังดีอยู่ เมื่อเอามือไปอังก็ควรที่จะดูดมือจนติด แต่ก็ไม่แน่นมากจนถึงกับดึงไม่ออก แต่ถ้าใครที่เคยใช้ปั๊มลมมาก่อนจะเข้าใจได้ว่าควรดูดได้ดีในระดับหนึ่ง ถ้าหากปั๊มลมไม่ดูด หรือดูดน้อยอาจจะเกิดได้จากวาล์วส่งมีปัญหา ปิดไม่สนิท ทำให้ลมย้อนกลับเข้ามาในหัวปั๊มลม อาการนี้จะส่งผลให้ปั๊มลมผลิตลมได้น้อยลง และหัวปั๊มลมทำงานหนักขึ้น ควรให้ร้านตรวจเช็ควาล์วส่งให้เรียบร้อย หรือถ้าเอามืออังแล้วมีลมย้อนออกมาทางหม้อกรอง ก็อาจจะมีปัญหาที่วาล์วดูด ซึ่งอาจจะปิดไม่สนิท หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรแก้ไขปัญหาก่อนทำการซื้อขาย
• ควรทดสอบจับเวลา เมื่อปั๊มลมเต็มถัง ให้ปล่อยลมออกจนปั๊มลมทำงานอีกครั้ง เวลาที่ปั๊มลมทำลมได้เต็มถังอีกครั้ง ไม่ควรจะนานเกินไป ควรอยู่ที่ 2-3 นาที สำหรับแรงดันประมาณ 7-8 บาร์ หากนานเกินกว่านั้น หัวปั๊มลมอาจจะเสื่อมสภาพมากเกินไป ถ้าต้องเอาไปใช้งานจริงจะกินไฟเยอะ ซึ่งหากเทียบในระยะยาวแล้ว นำเงินค่าไฟ ไปผ่อนจ่ายปั๊มลมมือ 1 ย่อมคุ้มค่ากว่า
• ตรวจสอบเซฟตี้วาล์วหรือโปโล ควรทดสอบปล่อยให้ปั๊มลมทำงานจนถึงแรงดันที่โปโลหรือเซฟตี้วาล์วต้องทำงาน เพราะถ้าหากเซฟตี้วาล์วไม่ตัดเมื่อทำงาน อาจจะส่งผลเสียหายร้ายแรงได้