การนำปั๊มลม (air compressor) มาใช้ในงานเกษตร

Last updated: 7 พ.ค. 2567  |  295 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การนำปั๊มลม (air compressor) มาใช้ในงานเกษตร

อากาศอัด . . . เบื้องหลังอุตสาหกรรมเกษตร (Air compressor in Agriculture & Farming)
        เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แล้วทราบไหมคะว่าจริงๆ แล้วเกษตรกรรมคืออะไร? มาทำความรู้จักอุตสาหกรรมนี้กัน
        เกษตรกรรม (agriculture) เป็นการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมง และการป่าไม้ ดังนั้นอุตสาหกรรมเกษตรหรือเกษตรอุตสาหกรรมจึงหมายถึงการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ในเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ

         เมื่อพูดถึงการทำเกษตรกรรม นอกจากจะต้องมีที่ดินแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คืออุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรและการทำฟาร์ม สิ่งที่คุณมักจะนึกถึงคืออะไรคะ? รถไถ รถแทรคเตอร์ เคียว พลั่ว สิ่งเหล่านี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งสิ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ปั๊มลมที่อยู่คู่อุตสาหกรรมนี่้มายาวนานหลายทศวรรษ ปัจจุบันได้มีการนำปั๊มลมมาใช้ในงานเกษตรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นกว่าในอดีต ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศถือเป็นสิ่งสำคัญในการขับเครื่องกระบวนการต่างๆ ทั้งการบำรุงรักษาฟาร์ม การผลิตพืชผล และการขนส่ง นอกจากมียังมีกระบวนการอื่นๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยปั๊มลมอีก จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

1. เครื่องมือช่าง(Hand Tools)
    เครื่องมือช่าง(Hand Tools) อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปืนพ่นสี (Spray paint guns) เครื่องตอกตะปู(pneumatic staplers) และปืนยิงตะปู (nail guns) เครื่องมือช่างเหล่านี้ล้วนขับเคลื่อนด้วยลมอัดทั้งสิ้น หากคุณต้องการทาสีโรงเก็บของ ปรับปรุงราวรั้ว หรือรีโนเวทฟาร์มของคุณใหม่ล่ะก็ คุณอาจจะจำเป็นใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) สักเครื่องนะ

2. สูบลมยาง (Inflating Flat Tires)
     หากสวนหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของคุณมีขนาดใหญ่ คงหนีไม่พ้น พาหนะสำหรับใช้เดินทางหรือส่งของภายใน ไม่ว่าจะเป็น รถแทรกเตอร์ รถเอทีวี รวมไปถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรถหรือยานพาหนะของคุณยางแบน . . . ใช่ค่ะ งานที่คุณทำอยู่อาจจะสะดุด เกิดการหยุดชะงัก ไม่สามารถรันงานต่อได้ ทำให้คุณทำงานไม่ทัน ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) จึงตอบโจทย์คุณได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยามฉุกเฉิน

3. ป้องกันศัตรูพืช (Crop Protection)
     ศัตรูพืชจัดว่าเป็นปัญหาของชาวเกษตกร เนื่องจากสร้างความเสียหายทางเกษตรกรรม ทำให้ผลผลิตลดลง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันพืชผลของคุณจากแมลงและศัตรูพืช สามารถทำได้โดยการติดตั้งเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ไว้ที่ด้านหลังของรถ พร้อมกับเครื่องพ่นสารเคมีที่เหมาะสม (ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา และ ยาฆ่าวัชพืช) เพียงเท่านี้ก็พร้อมใช้งาน


4. เครื่องรีดนม (Dairy Machines)
     หากฟาร์มของคุณเป็นฟาร์มนมแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าจะต้องมีเครื่องรีดนม เครื่องรีดนมอัตโนมัติได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่พบได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมนี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไรสูงสุด ซึ่งเครื่องรีดนมวัวนี้ก็ใช้อากาศอัด ในการขับเคลื่อนด้วยเช่นกัน

5. การลำเลียงวัตถุดิบ (Materials Transportation)
    การลำเลียงวัตถุดิบด้วยระบบนิวเมติกนั้นสามารถพบได้ทั่วไปในสวนหรือฟาร์มขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำหน้าที่ลำเลียงเมล็ดพืช ผง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไปยังโรงเก็บโดยใช้แรงลมเพียงเล็กน้อย ปั๊มลมอุตสาหกรรม แบบสุญญากาศจึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้

6. การบำบัดน้ำเสีย(Wastewater Treatment)
    บางกระบวนการในสวนหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์บางแห่งอาจก่อให้เกิดน้ำเสีย ดังนั้นก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจึงควรบำบัดบำบัดน้ำเสียในสถานที่ก่อนโดยการใช้ เทคโนโลยีโบลเวอร์แรงดันต่ำ (low pressure blowers) เพื่อใช้ใน กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศในถัง ซึ่งกระบวนการเติมอากาศนี้จะช่วยให้แบคทีเรีย (bacteria) ที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิตสามารถผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายของเสียได้

7. การทำความสะอาดพื้นที่การผลิต(Cleaning Production Areas)
    ลองนึกภาพยุ้งฉางหลังเก็บเกี่ยวดูสิ รกใช่ไหมล่ะ คงเหนื่อยน่าดูหากจะทำความสะอาดแต่ละที แต่หมดห่วงไปได้เลย หากคุณกำลังต้องการจัดระเบียบลานยุ้งข้าวหรือพื้นที่จัดเก็บของคุณ การใช้ระบบทำความสะอาดที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศอัดนั้นมีประสิทธิภาพสูง ทำความสะอาดได้ดี ไม่เปลืองแรงคุณ

8. การจัดเก็บพลังงานลม(Storing Wind Energy)
     ฟาร์มกังหันลม เป็นกลุ่มของกังหันลมในสถานที่เดียวกับที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า กระบวนการนี้ยังไม่เป็นที่นิยมจึงพบไม่บ่อยนัก เนื่องจากมีการทำงานที่ทันสมัย โดยหลักการคือคุณสามารถเก็บพลังงานลมส่วนเกินที่ผลิตได้จากกังหันไว้ใน เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ฟาร์มกังหันลมจึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการผลิตพลังงานที่สม่ำเสมอแม้ช่วงเวลาที่ไม่มีลม

        เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) จึงถือเป็นต้นกำลังหรือเบื้องหลังของกระบวนการต่างๆ ที่เกษตรกรชาวสวนหรือทำฟาร์มขาดไม่ได้ ทำให้งานขนาดเล็กง่ายขึ้นและจัดการงานขนาดใหญ่ให้อยู่หมัด ดังนั้นการเลือกปั๊มลมให้เหมาะสมกับการใช้งานกับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ก็เป็นสิ่งสำคัญ เราจึงควรพิจารณาให้เหมาะกับการใช้งาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้