Last updated: 7 พ.ค. 2567 | 218 จำนวนผู้เข้าชม |
ปั๊มลมลูกสูบ คือ เครื่องอัดลมแบบใช้ลูกสูบเป็นตัวสร้างแรงดัน มีราคาไม่แพง มีขนาดให้เลือกใช้งานหลากหลาย จึงเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่ในครัวเรือนไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมเพราะปั๊มลมชนิดนี้สามารถใช้งานได้ตั้งแต่แบบแรงดันต่ำ - สูง และแรงดันของปั๊มลมจะขึ้นอยู่กับชนิดปั๊มลมในการทำงาน เช่น การทำงานแบบอัดขั้นตอนเดียว (Single Stage) สร้างแรงดัน 8-10 บาร์ และการทำงานแบบอัดสองขั้นตอน (Two Stage) สร้างแรงดัน 12-15 บาร์
ปั๊มลมประเภท Single Stage และ Two Stage
- ปั๊มลมแบบ Single Stage จะดูดอากาศเข้าไปในกระบอกสูบและจะเกิดการถูกบีบอัดด้วยลูกสูบเพียงหนึ่งครั้ง ดังนั้นอากาศจึงถูกบีบอัดเพียงครั้งเดียวจากนั้นจึงเดินทางไปยังถังลม
- ปั๊มลมแบบ Two Stage จะมีการบีบอากาศสองครั้ง ดังนั้นมันจึงได้รับแรงดันสูงกว่าแบบ single-stage แม้ว่าอากาศอัดที่ถูกบีบอัดแล้วในครั้งแรกจะวนกลับเข้ากระบอกสูบอีกลูกเพื่อทำการบีบอัดในครั้งที่สองก่อนที่จะถูกนำไปเก็บที่ถังลม
ประเภทของปั๊มลม
- ปั๊มลมมี 4 ประเภท
1.ปั๊มลมแบบลูกสูบสายพาน จะใช้มอเตอร์และสายพานเป็นตัวขับเคลื่อน
2.ปั๊มลมโรตารี่ ใช้มอเตอร์ขับลูกสูบโดยตรง
3.ปั๊มลมออยฟรี (Oil free) เสียงเงียบและไม่ต้องเติมน้ำมันหล่อลื่น
4.ปั๊มลมแบบสกรู ใช้เพลาสกรูตัวผู้และตัวเมียหมุนเข้าหากันเพื่อดูดเเละอัดอากาศผ่านเกลียวสกรู
หลักการทำงานของปั๊มลมแบบลูกสูบ
ปั๊มลมชนิดนี้นิยมใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้น กำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ทำให้เกิดการดูดอัดภายในกระบอกสูบในขณะการดูดอากาศ ลิ้นวาล์วช่องดูดจะเปิดออกเพื่อดึงอากาศเข้ามาในกระบอกสูบเมื่อถึงช่วงการอัดอากาศ ตัวลูกสูบจะดันอากาศออกที่ทางลมออก ทำให้ลิ้นวาล์วทางลมออกเปิด เมื่อลูกสูบของปั้มลมขยับขึ้นลงอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการดูดและอัดอากาศขึ้นโดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน
1.ปั๊มลม(1st.)จะอัดอากาศจากกระบอกสูบ และส่งไปยังถังเก็บลม
2.ปั๊มลม(2st.) จะอัดอากาศทั้งหมด 2 ครั้งโดย เป็นการอัดอากาศจากกระบอกสูบที่ 1 ไปสู่กระบอกสูบที่ 2 เพื่อให้มีแรงดันที่สูงขึ้นและส่งไปยังถังลม
ชนิดของปั๊มลมลูกสูบในตลาดประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน
1.แบบขับตรง หรือ direct driven เป็นปั๊มลมที่มีหัวปั๊มติดกับมอเตอร์ ราคาประหยัด เหมาะกับผู้เริ่มต้นใช้งาน มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ขนย้ายง่าย ทำลมได้เร็วแต่ข้อเสียของปั๊มลมชนิดนี้คือเสียดังมาก ถ้าใช้งานเป็นระยะเวลานานและในระยะยาวจะมีการสึกหรอที่เร็วกว่าแบบขับด้วยสายพาน
2.แบบขับด้วยสายพาน belt driven เป็นปั๊มลมที่ มีสายพานต่อระหว่างมอเตอร์กับหัวสูบ ใช้สายพานเป็นตัวขับ มีตั้งแต่ขนาด 1/4 แรงม้าไปจนถึง 30 แรงม้า และยังมีถังพักลมขนาด 60-800 ลิตร ปั๊มลมชนิดนี้จะใช้รอบเครื่องต่ำ เสียงไม่ดังมากจนเกินไป มีความทนทานสูง มีอายุการใช้นานแต่มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน ปั๊มลมชนิดนี้คือมีขนาดใหญ่กว่าปั๊มลมแบบขับตรง และมีราคาที่สูงกว่าปั๊มลมแบบขับตรง
ชนิดของมอเตอร์ที่ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด
1.มอเตอร์ 2 สายหรือเฟสเดียว 220 V.(ไฟบ้าน)
2.มอเตอร์ 3 สาย หรือสามเฟส 380 V.(ไฟโรงงาน)
การเลือกปริมาณการผลิตลมให้พอเหมาะในการใช้งาน
-หน่วยวัดการผลิตลมของปั๊มลมส่วนใหญ่จะวัดกันเป็น ลิตร/นาที หรือลูกบาศเมตร/นาที หรือลูกบาศฟุต/นาที สามารถดูป้ายที่ป้ายกำกับที่ปั๊มลม (name plate) โดยดูกำลังผลิตลมที่ free air displacement (FAD) ซึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับหัวปั๊ม(flow)ขนาดและตัวเครื่อง แรงม้าของมอเตอร์เราสามารถไปดูที่อุปกรณ์ที่เราใช้งานคู่กับปั๊มลมได้ว่าเครื่องมือชนิดนี้ควรใช่ลมเท่าเท่าใหร่ในการใช้งาน
การเลือกแรงดันลมให้เหมาะสมในการใช้งาน
-แรงดันลมมีหน่วยเป็น bar หรือ กก./ตารางเซนติเมตร, psi หรือ ปอนด์/ตารางนิ้ว ซึงจะมีบอกทีตัวข้างของเครื่อง หลายคนอาจจะเข้าใจผิดได้ว่า แรงม้ากับแรงดันลมมันคืออันเดียวกันแต่ไม่ใช่เช่นนั้น ป้ายกำกับที่ปั๊มลม (name plate) จะบอกแรงดันที่ปั๊มลมผลิตได้ ดูได้จากมาตรวัดแรงดัน (pressure gauge) เวลาปั๊มลมปั๊มจนเต็มถังแล้ว เข็มชี้ที่เลขอะไรจะเป็นแรงดันของปั๊มลมเครื่องนั้นๆ
ขนาดของถังลม
ถังลมนั้นเอาไว้ใช้เก็บลม และทรงที่นิยมใช้ในบ้านเราจะเป็นทรงแบบแนวนอน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำลมแต่ประการใด ถังใหญ่มีข้อดีคือใช้เก็บลมได้นานกว่า มากกว่าแต่ถึงจะเก็บลมได้มากกว่า ทำให้ปั๊มลมได้พักเครื่องนานกว่า ไม่ต้องสตาร์ทบ่อยๆ ดูเหมือนจะช่วยประหยัดไฟ ข้อเสียก็มีเช่นกัน มีราคาสูง มีโอกาสผุรั่วได้ง่ายกว่าถังลมขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายลำบากกว่า
สรุปแล้วก็คือถ้าต้องทำงานที่เคลื่อนย้ายบ่อย เป็นรถ services เป็นช่างรับเหมาะ ควรจะเลือกใช้ถังลมที่มีขนาดเล็กพกพาออกนอกสถานที่ได้ แต่ถ้าไม่ต้องขนย้ายบ่อยตั้งอยู่กับที่ก็สามารถเลือกถังลมขนาดใหญ่มาใช้งานกันได้
ประเภทของปั๊มลมมีอยู่ 2 ประเภทคือแบบใช้น้ำมันกับไม่ใช้น้ำมัน
ปั๊มลมลูกสูบมีโครงสร้างคล้ายๆกับเครื่องยนต์ จำเป็นต้องมีการหล่อลื่น ซึ่งก็คือการใช้น้ำมันเครื่องนั่นเอง ทำให้ลมที่ได้อาจจะมีละอองน้ำมันปะปนมาบ้างแต่ในงานบางประเภทต้องการลมสะอาดจึงมีการผลิตปั๊มลมชนิดไม่ต้องมีน้ำมันหล่อลื่น (Oil-Free) ออกมา และแน่นอนว่า เมื่อโลหะไม่มีสารหล่อลื่นจะทำให้ความร้อนสูง สึกหรอเร็ว ดั้งนั้นปั๊มลมแบบ Oil-Free จะทำงานที่รอบต่ำ และต้องใช้วัสดุที่มีความฝืดต่ำ เป็นส่วนประกอบตัวเครื่อง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่า
สรุปก็คือถ้าใครใช้งานแบบปกติไม่ได้ต้องการลมที่สะอาดอะไรมาก เช่น พวกงานรับเหมาะ งานช่าง งานยนต์ ก็สามารถใช้ปั๊มลมแบบใช้น้ำมันปกติได้เลย แต่ถ้าต้องการลมที่มีความสะอาด ใช้งานกับพวกอาหาร ยา เคมีภัณฑ์ หรืองานทันตกรรมเนี้ยเลือกปั้มลมแบบ ไม่ใช่น้ำมันจะดีกว่านั่นเอง
การเลือกปั้มลมลูกสูบให้เหมาะสมกับการใช้งานเชื่อว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์มากๆในการช่วยเพื่อนๆ เลือกซื้อปั๊มลมอย่างแน่นอน....